วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 4
วัน พฤหัสบดี ที่10 ปี 2558
เวลาเรียน 09:00 - 12:30น.



ความรู้ที่ได้รับ

 1.   ได้รับแนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกบการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัยแบ่งเป็น 3 แนวคิดคือ
                 1.กลุ่มแนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม
                         - ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner
                  -ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของ John B. Watson
                2.กลุ่มแนวคิดพัฒนาการทางสติปัญญา
                        - ทฤษฎีของVygotsky
                        -ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget
                3.กลุ่มแนวคิดที่เชื่อรื่องความพร้อมทางร่ากาย
                        -ทฤษฎีของArnold Gesell
                4.กลุ่มแนวคิดที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
                       -ทฤษฎีของ Noam Chomsky
                       -ทฤษฎีความพึงพอใจของ O.Hobart Mowrer
2.ได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการแต่งนิทานเล่มใหญ่ร่วมกับเด็กๆในห้องเรียน



มาฝึกร้องเพลงใหม่ด้วยกัน









วันนี้ครูสอนแต่งนิทานเล่มใหญ่
โดยที่ครูกับนักศึกษาช่วยกันแต่งเรื่องขึ้นมา






เด็กๆช่วยกันทำงานที่ได้รับมอบหมาย อย่างตั้งใจทำ


กลุ่มของหนูได้ตกแต่งหน้าที่ ไปจับปูที่ทะเล พวกเราก็เลยวาดแม่ปูตัวใหญ่ๆ และมีเด็กไปจับปูด้วย


และนี่คือผลงานของครูและพวกเราที่ช่วยกันแต่งนิทานและวาดภาพกันเองสวยงามมากๆ



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
    การนำแนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัยดิฉันชอบแนวคิดทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget ที่ให้เด็กมีปฏิสมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวของเด็กจะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี เมื่อดิฉันได้ไปเป็นครูสอนเด็กดิฉันจะใช้ทฤษฎีนี้สอนให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในชีวิตจริงเพื่อเด็กจะได้ดูดซึมความรู้ต่างๆทำให้เด็กเกิดความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อมและพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ด้วยความเข้าใจ
การประเมินผล
การประเมินตนเอง
   สนุกสนานกับการเรียนให้ความร่วมมือในทุกกิจกรรมและวันนี้ได้เข้าใจแนวคิดต่างๆที่ได้เรียนแล้วสามารถเลือกแนวคิดที่ชอบได้

การประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆใจดี และให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่มเป็นอย่างดี ชอบที่เพื่อนๆกล้าแสดงออกเช่นออกไปอ่านหรือนำเสนอหน้าชั้นเรียน
การปรเมินอาจารย์
      อาจารย์สอนได้ไม่น่าเบื่อ เรียนสนุกและสอนได้เข้าใจง่ายเช่นอาจารย์เล่าประวัติของนักทฤษฎีและแนวคิดของเขาทำให้นักศึกษาเข้าใจ ในแต่ละกลุ่มแนวคิด
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น