บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 3
วัน พฤหัสบดี ที่ 3 กันยายน ปี 2558
เวลาเรียน 09:00 - 12:30น.
ความรู้ที่ได้รับ
สิ่งที่ได้รับวันนี้คือวิธีการลิงค์บล็อกและการตกแต่งบล็อกเบื้องต้น การใช้ภาษาในการสื่อสารกับเด็กต้องเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายและมีความหมายที่ถูกต้องเพราะเด็กจะเรียนรู้จากเรา ในห้องเรียนของเด็กไม่ควรใช้สีไม้เพราะจะเป็นอันตรายกับเด็ก ถ้าจะให้เด็กระบายสีต้องใช้สีชอล์คหรือสีน้ำมันเพราะใช้ง่ายและปลอดภัยสำหรับเด็ก ครูต้องเขียนตัวอักษรหัวกลมตัวเหลี่ยมได้ดี
เนื้อหาที่เรียน
ภาษา หมายถึง การสื่อความหมาย เป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก
ความสำคัญของภาษา
1. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
3. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4. ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ
ทักษะทางภาษา
ประกอบด้วย
1.
การฟัง 2. การพูด
3. การอ่าน 4. การเขียน
3. การอ่าน 4. การเขียน
•คือระบบเสียงของภาษา
•เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
•หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
•คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
•คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
•ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
เช่น คนกลาง
-คนที่นั่งระหว่างกลางโดยคนอื่นๆ นั่งขนาบข้าง
-ลูกคนที่อยู่ในลำดับกลางระหว่างพี่กับน้อง
-ผู้ถือความเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
-ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย
-ผู้ทำการค้าระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค
•คือระบบไวยากรณ์ •การเรียงรูปประโยค
เช่น
- ครูตีเด็ก เด็กถูกครูตี
- นกสีฟ้า Blue Bird
•แม่เกลียดคนใช้ฉัน ฉันเกลียดคนใช้แม่
•คนใช้เกลียดแม่ฉัน แม่คนใช้เกลียดฉัน
•ฉันเกลียดแม่คนใช้ แม่ฉันเกลียดคนใช้
4.
Pragmatic
•คือระบบการนำไปใช้ •ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ
เช่น สวัสดีค่ะ/ครับ
1.ระยะเปะปะ (Prelinguistic Stage)
•อายุแรกเกิด ถึง 6 เดือน
•เด็กจะเปล่งเสียงดัง ๆ
ที่ยังไม่มีความหมาย เพื่อบอกความต้องการ
•ออกเสียง อ้อ – แอ้
•เป็นช่วงที่ดีในการสนับสนุนให้เด็กมีพัฒนาการทางการพูด
•เด็กที่มีสุขภาพดีทั้งกายและใจจะมีพัฒนาทางภาษาที่ดี
2.ระยะแยกแยะ (Jergon Stage)
•อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี
•สามารถแยกแยะเสียงต่าง ๆ ที่ได้ยิน
•พอใจที่ได้ส่งเสียง
•ถ้าเสียงใดที่เด็กเปล่งออกมาได้รับการตอบสนองในทางบวก
เด็กก็จะเปล่งเสียงนั้นซ้ำอีก
•บางครั้งเด็กจะเลียนเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ตามเสียงคนที่พูดคุยด้วย
3.ระยะเลียนแบบ (Imitation Stage)
•อายุ 1 – 2 ปี
•เลียนเสียงต่าง ๆ ที่เด็กได้ยิน
•เสียงที่เปล่งออกมาอย่างไม่มีความหมายจะค่อย
ๆ หายไป
•พูดย้ำคำซ้ำๆไปมา
•ใช้คำศัพท์ได้ 5-20 คำ ทำตามคำสั่งง่ายๆได้
4.
ระยะขยาย (The Stage of
Expansion)
•อายุ 2 – 4 ปี
•เรียกชื่อสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว
•พูดเป็นคำ
•รู้จักคำศัพท์ 150-300 คำ
•เข้าใจสิ่งที่พูด 2 / 3
•ใช้คำบอกตำแหน่ง
•ใช้คำสรรพนามแทนตัวเอง
อายุ 3 ปี
•พูดเป็นประโยคได้
•รู้จักคำศัพท์ 900-1,000 คำ เข้าใจสิ่งที่พูด 90%
•ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
•สนทนาโต้ตอบ /
เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้
•สามารถตั้งคำถามโดยใช้เหตุผล
•สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง
ๆ
•ร้องเพลง ท่องคำกลอน
คำคล้องจองง่าย ๆ
•แสดงท่าทางเลียนแบบได้
•รู้จักใช้คำถาม “อะไร”
•สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่าย
ๆ
•เข้าใจคำถามง่ายๆ บอกเพศ ชื่อ
อายุตัวเองได้
•บอกชื่อสิ่งของในรูป
•ใช้คำบุพบทได้
•รู้จักสีอย่างน้อย 1 สี
•ชอบเล่าเรื่อง
•ชอบพูดซ้ำๆ
•บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
•พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
•สนทนาโต้ตอบ/เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
•สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง
โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
•รู้จักใช้คำถาม “ทำไม”
5.ระยะโครงสร้าง (Structure Stage)
•อายุ 4 – 5 ปี
•ใช้คำบรรยายลักษณะได้ดีขึ้น
•เริ่มเล่นสนุกกับคำและรู้จักคิดคำและประโยคของตนเอง
•ทำตามคำสั่ง 3 อย่างต่อกันได้
•รู้จักเวลาคร่าวๆ
6.ระยะตอบสนอง (Responding Stage)
•อายุ 5 – 6 ปี
•สนทนาโต้ตอบบอกเล่าเป็นเรื่องราวได้
•รู้จักใช้คำถาม “ทำไม” “อย่างไร”
•เริ่มพัฒนาไปสู่ภาษาที่เป็นแบบแผนมากขึ้น
•สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง
โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
•ใช้ภาษาเหล่านั้นกับสิ่งต่าง
ๆ รอบ ๆ ตัว
•อายุ 6 ปีขึ้นไป
•เข้าใจคำพูดที่ใช้ในสังคม
•ภาษาพูดเป็นนามธรรมมากขึ้น
•สนุกกับการแสดงความคิดเห็นโดยการพูดและการเขียน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
1.วุฒิภาวะ
•อายุ 3 ขวบ จะสามารถใช้คำพูด 376
คำต่อวัน
•อายุ 4 ขวบ จะพูดได้ 397 คำต่อวัน
2.สิ่งแวดล้อม
•บ้าน พ่อแม่ ผู้ปกครอง
•ครู โรงเรียน
3.การเข้าใจความหมายภาษาที่ใช้พูด
5.การมีส่วนร่วม (Participation)
พัฒนาการภาษาของเด็กปฐมวัย
เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้และเข้าใจ
เป็นลำดับขั้น
ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับ
หากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง
ควรมองว่านั่นเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
วันนี้ได้ทำป้ายชื่อด้วย มีข้อแม้ในการทำป้ายชื่อคือทุกคนต้องเขียนชื่อตัวเอง โดยใช้ตัวอักษรหัวกลมตัวเหลี่ยมเขียนชื่อเท่านั้น |
เพื่อนทุกคนร้องเพลงกันอย่างสนุกสนาน |
วันนี้คณุครูให้วาดรูปที่เด็กๆชอบมากที่สุด เด็กหญิงวราพร ก็เลยวาดรูปแกะน้อยกำลังกินหญ้าเพราะเด็กหญิงวราพรชอบแกะมากที่สุดเลย |
เพื่อนๆออกมาเล่าสิ่งที่ตนเองวาด เป็นตัวแทนของเด็กๆทั้งหมด
ในเรื่องของภาษานั้นเมื่อเราเป็นครูเราต้องใช้ภาษาสื่อสารให้ถูกต้องเพราะการสอนเด็กไม่ว่าจะเป็นคำพูด ท่าทางหรือสื่อที่ครูนำมาใช้สอน ทุกอย่างที่ครูแสดงออกมานั้นเด็กพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆจากครู
ฉะนั้นเมื่อเราเป็นครูเราจึงต้องเป็นแแบบอย่างในการใช้ภาษาสื่อสารกับเด็ก และคอยให้คำแนะนำที่ดีเมื่อได้ยินคำพูดที่ไม่ถูกต้องจากเด็ก แต่ต้องเป็นคำพูดที่ให้กำลังใจจึงจะเสริมสร้างพัฒนาการด้านภาษาในตัวเด็กมากขึ้น
การประเมินตนเอง
ดิฉันอยู่ในห้องเรียนอย่างสนุกสนานมีความสุขไปกับการเรียน ในวันนี้ครูให้เขียนป้ายชื่อโดยใช้ตัวอักษรหัวกลมตัวเหลี่ยมเขียนชื่อตัวเอง วันนี้ดิฉันรู้สึกว่าตัวเองสามารถเขียนตัวอักษรหัวกลมตัวเหลี่ยมได้ดีขึ้น แต่ตัวหนังสือยังเอียงอยู่เล็กน้อย กิจกรรมร้องเพลงห้าเพลงแรกดิฉันร้องได้อย่างมั่นใจมากเพราะดิฉันสามารถจำเนื้อเพลงได้หมด ส่วนห้าเพลงหลังนั้นดิฉันยังร้องได้ไม่ดีเพราะยังจำเนื้อเพลงไม่ได้ กิจกรรมสุดท้ายของวันนี้คือการวาดภาพสิ่งที่เราขอบมากที่สุด ดิฉันก็เลยวาดรูปแกะที่กำลังกินหญ้าอยู่ดิฉันชอบกิจกรรมนี้มากเพราะครูให้ทุกคนในห้องทำตัวเหมือนเด็กๆและที่สำคัญคือได้ใช้คำว่าเด็กหญิงนำหน้าชื่อของตัวเองลงในผลงานด้วยดิฉันรู้สึกชอบมากค่ะ
การประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนทุกคนได้เล่นและได้เรียนไปด้วยกัน ทุกคนให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดี ตอนที่ครูให้ดูรูปภาพเกี่ยวกับภาษาดิฉันไม่เข้าใจบางภาพ แต่เพื่อนๆก็สามารถอธิบายจนดิฉันเข้าใจภาพนั้น ส่วนกิจกรรมร้องเพลงแม้บางเพลงเพื่อนๆอาจจะร้องได้ไม่เข้าจังหวะแต่ก็ทำให้ดิฉันกล้าที่จะร้องเพลงเสียงดังขึ้น วันนี้เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนและทำได้ดีมากค่ะ
การประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์ต้องอดทนที่จะค่อยๆสอนวิธีการทำบล็อกเบื้องต้น อาจารย์สอนได้ดีดึงดูดความสนใจแม้บางอย่างจะเป็นเนื้อหาที่น่าเบื่อแต่อาจารย์ก็สอนได้สนุกและทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่าย และอาจารย์ยังได้อธิบายเกี่ยวกับการใช้สีในห้องเรียนเด็กว่าควรใช้สีแบบไหนจึงจะดีและปลอดภัยสำหรับเด็ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น