วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 9

วัน พฤหัสบดี ที่ 15  ตุลาคม ปี 2558 เวลาเรียน 09:00 - 12:30น.



ความรู้ที่ได้รับ


       1.เรียนรู้วิธีการสอนเด็กอ่านคำคล้องจองว่ามีอยู่สามขั้นตอนคือ
1. ให้ครูอ่านคำคล้องจองให้เด็กฟังทั้งหมดก่อนหนึ่งรอบ
2. ให้เด็กอ่านคำคล้องจองออกเสียงตามครูหนึ่งรอบ
3. ให้เด็กอ่านคำคล้องจองไปพร้อมกับครู  

     2.เรียนรู้วิธีการแต่งเพลงและวิธีการสอนเด็กร้องเพลงว่ามีทั้งหมด 4 ขั้นตอน
1. ครูอ่านเนื้อเพลงให้เด็กฟังก่อน
2. ครูร้องเพลงให้เด็กฟังหนึ่งรอบ
3. ให้เด็กร้องตามครูทีละประโยค
4. ให้ครูร้องเพลงไปทำท่าไปพร้อมกันแล้วบอกให้เด็กทำตามด้วย




                                   แต่ละกลุ่มออกมาอ่านคำคล้องจองโดยมีคนหนึ่งในกลุ่มรับหน้าที่เป็นครู 
                                                              สอนอ่านคำคล้องจอง





                                        คำคล้องจองหอยทากจากหน่วยการเรียนรู้เรื่องหอยทาก     





วันนี้ครูสอนแต่งเพลงสำหรับเด็กอนุบาล
ทุกกลุ่มช่วยกันแต่งเพลงตามหัวข้อที่กลุ่มได้รับ





          
กลุ่มของดิฉันแต่งเพลงหอยทาก



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     
    ความรู้ในวันนี้ทำให้นำไปใช้กับการสอนเด็กไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนต่างที่สอนให้เด็กอ่านคำคล้องจองตาม และวิธีรับมือกับเด็กเช่นการตอบคำถามจากเด็กเพราะเด็กแต่ละคนจะมีความคิดที่ไม่เหมือนกัน เด็กจะตั้งคำถามที่แปลกๆมา เมื่อเราเป็นครูเราตอบได้เด็กเข้าใจแต่บางอย่างเราต้องอธิบายให้เด็กเข้าใจเพราะอาจจะเป็นเรื่องที่ยาก ฉะนั้นครูต้องรับมือกับเด็กให้ได้


การประเมินผล

การประเมินตนเอง
       วันนี้ได้ทำตัวเป็นเด็กเพราะมีเพื่อนเป็นคุณครูสอนอ่านคำคล้องจอง และได้ตอนคำถามของคุณครูเพื่อนด้วย จากนั้นก็ช่วยเพื่อนๆในกลุ่มแต่งเพลง กลุ่มของหนูแต่งเพลงหอยทากโดยที่ทุกคนในกลุุ่มช่วยกันแต่ง แต่หนูได้เป็นคนคิดท่าประกอบด้วย 


การประเมินเพื่อน
        เพื่อนร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างมากเลย โดยแสดงท่าทางน้ำเสียงเหมือนเด็กในเวลาตอบคำถามจากครูเพื่อน และเพื่อนๆในห้องก็แสดงได้เหมือนของจริงมากเวลาตอบคำถาม เพราะทำให้ได้คิดว่าถ้าได้เจอเด็กของจริงคงจะมีคำถามและคำตอบอย่างมากมายแน่นอน

การประเมินอาจารย์
         อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา สอนเป็นกันเองทำให้บรรยากาศน่าเรียนและทำกิจกรรมด้วยกันได้สนุกมาก อาจารย์ยังค่อยๆสอนวิธีการแต่งเพลงเด็ก พอนักศึกษาลงมือทำงานอาจารย์จะคอยเดินดูว่านักศึกษาทำงานได้ไหม ถ้าทำไม่ได้หรือไม่เข้าใจอาจาย์จะช่วยให้คำแนะและตรวจดูว่านักศึกษาทำถูกไหม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น